สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐาน
ด้านกายภาพ
- ขนาดและที่ตั้ง
เทศบาลตำบลโพนทองตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ 7 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดของตำบลโพนทอง 26.28 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 16,425 ไร่ มีอาณาเขตติดกับตำบลข้างเคียงดังนี้- ทิศเหนือ จดตำบลหนองกุง และตำบลไผ่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- ทิศใต้ จดเขตตำบลเหนือ และเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
- ทิศตะวันออก จดตำบลตำบลไผ่ และตำบลเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- ทิศตะวันตก จดตำบลลำพาน และตำบลหนองกุง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์

- ตำบลโพนทอง มีลักษณะภูมิประเทศเป็น
- ที่ราบสูง ได้แก่บ้าน โคกน้ำเกลี้ยง ม.3, ม.10บ้านมอดินแดง หมู่ที่ 8 บ้านห้วยสีทน หมู่ที่ 6
- ที่ราบลุ่มมีน้ำขัง ได้แก่บ้านหามแห หมู่ที่1 ,ม. 9 บ้านโพนทอง หมู่ที่ 2 , ม.7 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 4 ,ม.5
การเมืองการปกครอง
- การเมือง
- ตำบลโพนทองแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 2เขต มีสมาชิกสภาเทศบาลตำบลโพนทองทั้งสิ้น จำนวน 12คน (เขตละ 6 คน)
- การปกครอง
- ตำบลโพนทองแบ่งการปกครองออกเป็น 10หมู่บ้าน 2,353 ครัวเรือน
- การปกครองส่วนท้องถิ่น
- มีเทศบาลตำบลโพนทองเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็น เทศบาลขนาดกลาง

- ประชากร
- จากข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง การตรวจสอบบ้านจากทะเบียนบ้าน เดือนเมษายน 2559 ตำบลโพนทองมีประชากรทั้งสิ้น 6,495คน แยกเป็นชาย 3,173 คน คิดเป็นร้อยละ 48.85 หญิง 3,322 คน คิดเป็นร้อยละ 51.15 หมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ บ้านห้วยสีทน หมู่ที่ 6 หมู่บ้านที่มีประชากรน้อยที่สุด ได้แก่ บ้านโคกน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 10
ครัวเรือนและประชากร แยกตามหมู่บ้านมีดังต่อไปนี้
- จากข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง การตรวจสอบบ้านจากทะเบียนบ้าน เดือนเมษายน 2559 ตำบลโพนทองมีประชากรทั้งสิ้น 6,495คน แยกเป็นชาย 3,173 คน คิดเป็นร้อยละ 48.85 หญิง 3,322 คน คิดเป็นร้อยละ 51.15 หมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ บ้านห้วยสีทน หมู่ที่ 6 หมู่บ้านที่มีประชากรน้อยที่สุด ได้แก่ บ้านโคกน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 10
หมู่ที่
|
บ้าน
|
ครัวเรือน
|
ประชากร
|
||
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
|||
1
|
หามแห
|
224
|
326
|
366
|
692
|
2
|
โพนทอง
|
219
|
344
|
380
|
724
|
3
|
โคกน้ำเกลี้ยง
|
109
|
158
|
176
|
334
|
4
|
หนองบัว
|
169
|
335
|
326
|
661
|
5
|
หนองบัว
|
421
|
466
|
500
|
966
|
6
|
ห้วยสีทน
|
449
|
504
|
537
|
1,041
|
7
|
โพนทอง
|
269
|
433
|
434
|
867
|
8
|
มอดินแดง
|
188
|
292
|
284
|
576
|
09
|
หามแห
|
119
|
156
|
175
|
331
|
10
|
โคกน้ำเกลี้ยง
|
86
|
159
|
144
|
303
|
รวม
|
2,353
|
3,173
|
3,322
|
6,495
|
ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของตำบลได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ,ยางพารา

- การศึกษาภาคบังคับได้ขยายไปทั่วถึงทั้งตำบล โดยในตำบลมีโรงเรียนประถม จำนวน 3 แห่ง คือ
- โรงเรียนหามแหโพนทองวิทยาคม
- โรงเรียนบ้านโคกน้ำเกลี้ยงวิทยาคม
- โรงเรียนหนองบัวราษฎร์นิยม
- ส่วนการศึกษานอกระบบโรงเรียนมีการส่งเสริมการศึกษา ผู้ใหญ่โดยมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่บ้านหามแห หมู่ที่ 1

- ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลโพนทองนับถือศาสนาพุทธ มีวัด จำนวน 6 วัด คือ
- วัดสุมังคลาราม หมู่ 1
- วัดวนสันติการาม หมู่ 3
- วัดสว่างประทุม หมู่ 4 , 5
- วัดห้วยสีทน หมู่ 6
- วัดวัดสุวรรณาราม หมู่ 2 , 7
- วัดประชาสามัคคี หมู่ 8
- สำนักสงฆ์บ้านหามแห หมู่ 9
- สำนักสงฆ์บ้านโคกน้ำเกลี้ยงหมู่ 3

- การดำเนินการด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทองจำนวน 1 แห่งที่ให้บริการในตำบล และศูนย์ปฏิบัติการของสถานีอนามัย(สุขศาลา) จำนวน 10 แห่ง

- สภาพเศรษฐกิจทั่วไป
- สภาพเศรษฐกิจทั่วไปของตำบลโพนทอง การผลิตภาคเกษตรกรรมลดลงจาก ปีก่อนเนื่องจากเขตพื้นที่ของตำบลซึ่งมีแนวเขตติดกับเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีการขยายที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นที่ในการทำการเกษตรลดลง และมีการซื้อขายที่จากเกษตรกรเพื่อเกร็งกำไร ทำให้การทำการเกษตรน้อยลง มีการก่อสร้างส่วนราชการ บริษัทเอกชน โรงแรมในเขตพื้นที่ของตำบลมากขึ้น
- สภาพเศรษฐกิจทั่วไปของตำบลโพนทอง การผลิตภาคเกษตรกรรมลดลงจาก ปีก่อนเนื่องจากเขตพื้นที่ของตำบลซึ่งมีแนวเขตติดกับเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีการขยายที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นที่ในการทำการเกษตรลดลง และมีการซื้อขายที่จากเกษตรกรเพื่อเกร็งกำไร ทำให้การทำการเกษตรน้อยลง มีการก่อสร้างส่วนราชการ บริษัทเอกชน โรงแรมในเขตพื้นที่ของตำบลมากขึ้น
- การเกษตรกรรม ตำบลโพนทองมีพื้นที่เกษตรกรรมแยกเป็นหมู่บ้านดังนี้ (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2561)
หมู่ที่
|
บ้าน
|
พื้นที่ทั้งหมด(ไร่)
|
พื้นที่ทำนา (ไร่ )
|
พื้นที่อื่นๆ(ไร่ )
|
1
|
หามแห
|
1,242
|
770
|
472
|
2
|
โพนทอง
|
2,340
|
642
|
1,698
|
3
|
โคกน้ำเกลี้ยง
|
1,520
|
50
|
1,470
|
4
|
หนองบัว
|
1,600
|
420
|
1,180
|
5
|
หนองบัวน้อย
|
1,054
|
280
|
774
|
6
|
ห้วยสีทน
|
2,980
|
154
|
2,826
|
7
|
โพนทอง
|
355
|
80
|
275
|
8
|
มอดินแดง
|
1,980
|
40
|
1,940
|
9
|
หามแห
|
1,880
|
250
|
1,630
|
10
|
โคกน้ำเกลี้ยง
|
1,474
|
123
|
1,349
|
รวม
|
16,425
|
2,811
|
13,614
|
การอุตสาหกรรม
- มีโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ของตำบลโพนทอง แยกเป็นดังนี้
- ขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง จำนวน 1 โรง
- ขนาดกลาง โรงงานอุตสาหกรรมน้ำแข็ง จำนวน 1 โรง
- โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนัง จำนวน 1 โรง
- ขนาดเล็ก
- โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 5 โรง
- โรงงานผลิตเส้นขนมจีน จำนวน 2 โรง
การพาณิชยกรรม
- ด้านการค้า
- มีผู้ประกอบการค้า จำนวน 140 ราย
- ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญได้แก่ ผักปลอดสารพิษ , ปุ๋ยชีวภาพของกลุ่มเกษตรกร บ้านหนองบัว หมู่ 5 ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของตำบล ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลังหญ้าเลี้ยงสัตว์
ทรัพยากรธรรมชาติ
- ทรัพยากรป่าไม้
- มีป่าไม้ที่อยู่ในที่สาธารณประโยชน์ที่ชาวบ้านร่วมกันรักษาไว้ ได้แก่
- ดอนเจ้าปู่ หมู่ที่ 1 จำนวน 37 ไร่
- ดอนเจ้าปู่ หมู่ที่ 3 จำนวน 3 งาน
- ดอนเจ้าปู่ หมู่ที่ 8 จำนวน 12 ไร่
- ทรัพยากรน้ำ
- แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่
- กุดยาง หมู่ 4 จำนวน 18 ไร่
- กุดเชือก หมู่ 4 จำนวน 19 ไร่
- กุดตาคำ หมู่ 4 จำนวน 9 ไร่
- กุดตาอ่อน หมู่ 4 จำนวน 7 ไร่
- หนองบัวน้อย หมู่ 4 จำนวน 10 ไร่
- หนองบัวใหญ่ หมู่ 4 จำนวน 10 ไร่
- หนองอีหล่ม หมู่ 4 จำนวน 30 ไร่
- หนองอีคูณ หมู่ 4 จำนวน 33 ไร่
- ห้วยหมากกล้วย หมู่ 3 จำนวน 62 ไร่
- แหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน ได้แก่
- หนองส่างช้าง หมู่ 1 จำนวน 2 ไร่
- หนองโปร่ง หมู่ 1 จำนวน 8 ไร่
- หนองหามแห หมู่ 1 จำนวน 5 ไร่
- หนองหัวเห็น หมู่ 2 จำนวน 11 ไร่
- ห้วยสีทน หมู่ 6 จำนวน 1,112 ไร่
- หนองแล้ง หมู่ 8 จำนวน 18 ไร่
- แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่
- มีป่าไม้ที่อยู่ในที่สาธารณประโยชน์ที่ชาวบ้านร่วมกันรักษาไว้ ได้แก่

- การเกษตร ประชากรในเขตเทศบาลตำบลโพนทองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การพาณิชย์ รับจ้างรับราชการ และอื่นๆ รองลงมาตามลำดับ พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกมากที่สุดคือ ข้าว ยางพารา ข้าวโพด แตงโม มะเขือเทศ เห็ด และถั่วต่างๆ
- การประมง ประชากรบางส่วนจะทำการขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลาน้ำจืดที่นิยมเลี้ยง คือ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาใน ปลายี่สก ปลาดุก ปลาหมอฯลฯ
- การปศุสัตว์ ประชากรเกือบทุกครัวเรือนจะทำการเลี้ยงเป็ด ไก่ โดยส่วนมากจะเลี้ยงเพื่อการบริโภค สำหรับการ เลี้ยงโค กระบือ สุกร เป็นการเลี้ยงเพื่อการจำหน่าย
- การท่องเที่ยว เทศบาลตำบลโพนทองมีประเพณีถนนสายบุญ ซึ่งเป็นงานประจำ โดยจัดทำทั้ง 10 หมู่บ้านเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและ ตลอดจนเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยงานประเพณีดังกล่าวจัดขึ้นทั้ง 10 หมู่บ้าน ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจมาก

- ข้อมูลด้านการเกษตร
- ประชากรในเขตตำบลโพนทองส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 75 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การพาณิชย์ประมาณร้อยละ 9 อาชีพรับจ้างและอื่นๆประมาณร้อยละ 16
- พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกมากที่สุดคือ ข้าว ข้าวโพด แตงโม มะเขือเทศ และถั่วต่างๆ นอกจากนี้ในบางครัวเรือก็ทำไร่มันสำปะหลัง ปลูกยางพารา
- ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร ในเขตเทศบาลตำบลโพนทอง มีลำน้ำ/ลำห้วยที่สำคัญสำหรับใช้เพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 2 แห่ง คือ ห้วยหมากกล้วย และ ห้วยสีทน
- ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค) ทุกครัวเรือมีน้ำประปาสำหรับใช้ในการอุปโภค – บริโภค ในบางครัวเรือนก็ซื้อน้ำดื่ม หรือบาง หมู่บ้านก็มีโรงน้ำสำหรับให้บริการประชาชนภายในหมู่บ้าน

- การนับถือศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลโพนทองนับถือศาสนาพุทธ จะมีบางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อย ที่นับถือศาสนาคริสต์ - ประเพณีและงานประจำปี
1. | บุญซำฮะ (บุญเบิกบ้าน,เลี้ยงปู่ตา) | - ทำบุญตักบาตร ปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากหมู่บ้าน |
2. | บุญเข้าพรรษา | - ร่วมกันทำบุญตักบาตร |
3. | บุญเดือนสี่ | - ฟังเทศน์มหาชาติ ทำบุญตักบาตร สร้างความสามัคคี |
4. | บุญกฐิน | - ถวายองค์กฐินกับวัด |
5. | บุญออกพรรษา | - ร่วมกันทำบุญตักบาตร |
6. | ประเพณีสงกรานต์ | - สร้างความสามัคคี สืบทอดวัฒนธรรมความดีงาม |

- น้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของเทศบาลตำบลโพนทอง ประกอบด้วย ลำห้วยสีทน ห้วยหมากกล้วยหนองหัวเห็นหนองส่างส้าง หนองบัว หนองหามแห หนองเทา ฯลฯ
- ป่าไม้ ป่าไม้ที่สำคัญของเทศบาลตำบลโพนทอง ประกอบด้วย